Mercedes-Benz G-Class

Mercedes-Benz G-Class

Mercedes-Benz G-Class
World’s Premium Luxury Off-Road SUV

โดย. พีระพงษ์ กลั่นกรอง

สวัสดีครับ
คงได้ยินผู้คนพูดถึงรถ Mercedes-Benz G-Class ซึ่งเป็นรถ Off-Road SUV กันบ้างนะครับ
รถรุ่นนี้ราคานับแต่ 11 จนถึง 35 ล้านบาท จึงเป็น “ของเล่นเศรษฐี” กลุ่มคนสังคมชั้นสูง มีฐานะการเงิน ดารานักแสดง และมีรสินยมด้าน Off-Road เป็นส่วนมาก
แต่ไม่ค่อยมีใครอธิบายว่า “G-Class ดีอย่างไร? ดีเลอเลิศตรงไหน?”

จึงเข้าใจเพียงว่า G-Class คงมีแต่ความหรูหราเลิศเลอในระดับ World’s Premium Luxury Off-Road SUV ที่เน้นเครื่องฯแรงเกินความจำเป็นต่อการขับใช้งาน ระบบส่งกำลังขับเคลื่อนสี่ล้อวิบากที่อ้างว่าเหนือชั้นกว่า และตกแต่งหรูหราสะดวกสบายครบครัน เพียงเท่านั้น

Mercedes-Benz G-Class

ซึ่งคู่แข่งในตลาดบนก็มีคุณสมบัติและสมรรถนะเทียบชั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นรถยุโรปด้วยกัน อเมริกัน ญี่ปุ่น เกาหลี และจีนแผ่นดินใหญ่
อันที่จริง Mercedes-Benz G-Class โดยเฉพาะรุ่นที่เป็น Professional Line มีเกียร์ 4×4 High/Low และ Differential -Locks ถึง 3 ตัวนั้น ทำเนียบรถโลกยกย่องว่าเป็น “King of Off-Road” นับแต่ปี 1979 โน่น

เอาเป็นว่า G-Class (รุ่นที่เป็น 4×4 Off-Road) นั้น “ตกหล่ม 3 ล้อ เหลือติดที่แห้งเพียงล้อเดียวก็ขึ้นจากหล่มได้!”
นี่ยังไม่นับรุ่นพิเศษที่ตัวรถยกสูงและใช้เพลาขับล้อแบบ Portal Axle (ระบบเฟืองเกียร์หัวเพลาขับแบบเดียวที่ติดตั้งในรถ Mercedes-Benz UNIMOG) ซึ่งพบเห็นได้ยากบนท้องถนนทั่วโลก เพราะราคานั้นแพงเป็น Double-Price ทีเดียว
………………………………

ไม่แน่ใจว่า Mercedes-Benz G-Class เข้ามาในบ้านเราตั้งแต่ปี 1979 โน่นหรือเปล่า?

หลังจากที่รัฐบาลไทยเปิดการค้าเสรีประมาณปี 1991 คือ เปลี่ยนจากตลาดรถยนต์ประกอบในประเทศอย่างเดียวมาเป็นตลาด CKD./CBU. ก็มีการนำเข้ารถ Mercedes-Benz G-Class แต่จะเป็น Authorized Importer หรือว่า Grey Market นั้นไม่มีข้อมูลยืนยันได้
แม้ฟังดูเป็นเรื่องตลก แต่ผู้คนทั่วไปที่ไม่คุ้นกับ Mercedes-Benz ก็ยังสับสนกันอยู่ เรียกผิดเข้าใจผิด ระหว่าง G-Class ที่เป็นรถ Off-Road/Large SUV กับ GLA-Class ที่เป็นรถ All-Wheel-Drive/ Medium SUV เนื่องจากมีอักษร “G” นำหน้าเหมือนกัน ไม่แคล้วที่ต้องอธิบายเพิ่มเติมว่าเป็นรถประเภทไหน?
สิ่งที่จดจำได้ง่ายๆ ก็คือ G-Class เป็นรถ Off-Road SUV คันใหญ่ ไม่มีอักษร “L” ต่อท้ายชื่อรุ่น รหัสตัวถัง คือ W400 (Series) ผลิตจำหน่ายครั้งแรกในปี 1979 ส่วนรถเก๋งนั่ง 5 ประตูคันเล็กกว่า คือ GL นั้น จัดอยู่ในหมวด Sub-Compact Luxury/Cross-Over SUV (ชื่อรุ่นมีตัวอักษร GL คู่กันเสมอ) รหัสตัวถัง ได้แก่ X และ H ตามลำดับพัฒนาการรุ่น ผลิตจำหน่ายครั้งแรกในปี 2013 ดังนี้คงไม่สับสนอีกแล้วนะครับ

Mercedes-Benz G-Class เสนอตลาดหลายเวอร์ชั่นมากๆ เช่น Civilian Edition, Edition.30 PUR, Grand Edition, G500 Guard (Bulletproof), Limited, Special Edition, Professional Line, Mercedes-AMG, และ Mercedes-Maybach เป็นต้น
นับแต่ปี 2018 รหัสตัวถัง W463 โรงงานผลิตทอนรุ่นให้น้อยลง แต่ก็ยังหลากหลายอยู่ดี ได้แก่ G63, G63 Edition, G63 Trail Package, G63 4×4, G63 4×4 Special Model, G-Manufaktur แต่งพิเศษตามสั่ง (Individualisation Programme) และ Professional Line
อย่างไรก็ตาม Mercedes-Benz AG ประกาศยกเลิกการผลิต G-Class ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในหรือ IC (Internal Combustion Engine)ปลายปี 2024 จากนั้นรถ Off-Road SUV รุ่นนี้ก็จะเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า 100% คือ Mercedes-Benz EQG จึงอาจทำให้ G-Class มือสองมีค่าตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ เพราะตัวรถที่ใช้เครื่องยนต์นั้นคงความคลาสสิคและหายากมากขึ้น

ทราบไหมว่า?
ก่อนที่จะเข้าเนื้อหาสาระ อยากให้ลองอ่านข้อมูลเหล่านี้ดูสักนิดนะครับ

ข้อแรก- G-Class ตัวอักษร G ย่อจากภาษาเยอรมันคำว่า Gelandewagen (ออกเสียงว่า “กาเล้นเด้อร์วา(เก้น)” ตรงกับความหมายภาษาอังกฤษว่า All-Terrain Vehicle)
ต้นแบบเป็นรถออสเตรีย(ตอนใต้ของเยอรมนี)ยี่ห้อ “พุค” หรือ Puch รุ่น G-Wagen ออกแบบผลิตเพื่อให้เป็นยานยนต์น้ำหนักเบาใช้ในราชการกองทัพ(Military Light-Weight Vehicle) สำหรับนำสาร ลาดตระเวณ และรถสำหรับนายทหารชั้นผู้บังคับกองพันมีพลขับให้ในสมรภูมิ
เป้าประสงค์การออกแบบผลิต คือ
“ขับเคลื่อนไปได้ในทุกที่และต้องไม่ติดหล่มเป็นเป้านิ่งให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย”

Mercedes-Benz G-Class

ข้อที่สอง- G-Class เกิดจากพระราชดำหริของพระเจ้าซาห์แห่งอิหร่าน(King of Iran Mohammad Reza Shah) ทรงแนะนำคณะผู้บริหารของ Daimler-Benz AG (หรือ Mercedes-Benz Group ในปัจจุบัน) ให้พิจารณาออกแบบผลิตรถโมเดลนี้เพื่อจำหน่ายเป็นยุทโธปกรณ์ทางทหาร
Mercedes-Benz G-Class จึงถือกำเนิดอย่างเป็นทางการในปี 1979 และเปิดขายให้กับตลาดรถยนต์พาณิชย์ทั่วโลกอีกช่องทางหนึ่งด้วย
ข้อที่สาม- เมื่อรถต้นแบบเป็นยานยนต์ทางทหารที่ขับใช้งานในสมรภูมิ G-Class จึงมีระบบส่งกำลังขับเคลื่อนสี่ล้อวิบาก หรือ 4×4 Off-Road ที่มีประสิทธิภาพมาก ตามนโยบายทหารที่ว่า ติดหล่มไม่ได้..เดี๋ยวจะกลายเป็นเป้านิ่งถูกโจมตี

แม้ว่าคุณสมบัติการเป็นรถทหารข้อนี้จะคล้ายๆกับรถ 4×4 Off-Road ยี่ห้อเด่นดัง เช่น Jeep และ Hummer ของอเมริกัน, Land Rover ของอังกฤษ, และอื่นๆ เป็นต้น แต่ระบบขับสี่ล้อวิบากของ G-Class นั้นแตกต่างและลึกซึ้งมากกว่า
ข้อที่สี่- เทคโนโลยีเหนือชั้น เช่น Mercedes-Benz AMG G63 (MY2023) เครื่องยนต์เบนซิน 8 สูบวี. แรงสุดขั้วที่ 585 แรงม้า แรงบิดมหาศาลที่ 850 นิวตัน-เมตร
อุปกรณ์เพิ่มพลังโดยการอัดอากาศ คือ Bi-Turbocharger เป็นแบบ “HOT Inside V” กล่าวคือ เทอร์โบ 2 ตัวติดตั้งอยู่ตรงกลางร่องวี.หรือกลางฝาสูบส่วนบน หดสั้นทางเดินก๊าซไอดีกระชับ ตอบสนองได้เร็วกกว่า ลดปัญหา Turbo-Lag ได้เกือบ 100%

เกียร์อัตโนมัติ AMG SPEEDSHIFT TCT-9 Speed Sport Transmission วิจัยพัฒนาโดย AMG เป็นเกียร์อัตโนมัติระบบดาวนพเคราะห์(Planetary Gear-Set)เดินหน้า 9 สปีด ซึ่งผนวกเทคโนโลยี Torque Convertor Technology กับ Multi-Clutch Technology เข้าด้วยกัน อัตราทด Over-Drive ตั้งแต่เกียร์ 7th เป็นต้นไป เกียร์รุ่นนี้รองรับแรงบิดได้มากกว่า 700 นิวตัน-เมตร

เทคโนโลยีระบบไฟหน้า Mercedes-Benz Active Light System (ALS) เป็น Intelligent Head Light system โดยใช้ศักยภาพของหลอดไฟ LED (ที่ให้แสงเข้มและสว่างกว้างไกลกว่า Xenon ประมาณ +25%) ทำงานร่วมกับ Microprocessor และ Electric Data Network ของรถยนต์ จึงทำงานแบบ Real-Time Driving Information จาก Speed Sensors และ Steering Angle

คุณสมบัติของ ALS ได้แก่ ปรับไฟสูงอัตโนมัติ(Highbeam Assistant), ไม่ส่องนัยน์ตาผู้ขับรถคันหน้าและรถวิ่งสวนทาง(Anti-Dazzle/Anti-Glare), ไฟหน้าส่องโค้งตามทิศทางหมุนพวงมาลัยรถ, ปรับการส่องระนาบพื้นตลอดเวลา(Dynamic Headlight Range & Self-Leveling), เปิด/ปิดไฟหน้าอัตโนมัติ, และอื่นๆ ดังนี้เป็นต้น
ข้อที่ห้า- G-Class “Civilian Edition” ขับเคลื่อนทุกล้อตลอดเวลา(Permanent All-Wheel-Drive) ใต้ท้องรถสูงจากพื้นราบ 9.5 นิ้วฟุตโดยประมาณ สามารถปีนข้ามอุปสรรคได้สูง (ลงหลุมลึกได้ถึง 27.5 นิ้วฟุตโดยประมาณ) มุมไต่ชันได้มากถึง 45 องศา(หรือ 100% เต็มขีดความสามารถของรถ Off-Road ทั้งหมด) มุมไต่เอียงทำได้มากถึง 35 องศา
รุ่นพิเศษ คือ “Professional Line” นอกจากติดตั้งเฟืองท้ายที่มีกลไกล็อคเพลากำลัง(Differential-Locks)จำนวน 3 ตัว ได้แก่ ตัวหน้า, ตัวกลาง, และตัวหลัง แล้ว ยังใช้ชุดเฟืองหัวเพลาขับ เรียกว่า Portal Axle (หรือ Portal Gear-Lifts) ทำให้คานเฟืองท้ายตัวหน้าและหลังยกสูงจากดุมล้อมากกว่าปกติประมาณ 15 เซนติเมตร ใต้ท้องรถยกสูงข้ามพ้นอุปสรรควิบากได้อย่างไรกังวล ทั้ง 3x Differential-Locks และ Portal Axle เช่นนี้หาได้ยากมากในตลาดรถ 4×4 Off-Road ทั่วไป

Mercedes-Benz G-Class

ข้อที่หก- สมรรถนะขับสี่ได้ทั้ง On & Off-Road ด้วยเกียร์อัตโนมัติระบบเฟืองเกียร์แบบดาวนพเคราะห์(Planetary Gear Set/Automatic Transmission) เดินหน้า 9 สปีด พร้อมเฟืองท้ายแบบพิเศษทดรอบ 2 จังหวะที่ทำให้ขับสี่ได้แรงสุดๆ ไม่ว่าจะเป็นนอกหรือบนผิวถนน
ข้อที่เจ็ด- แม้ช่วงล่างด้านหน้าจะเป็นปีกนกสองชั้น(Double-Wishbone) ด้านหลังเป็นคานแข็ง(Rigid Axle) ซึ่งแข็งแรง คงทน และดีที่สุดของรถ Off-Road วิบากแล้วก็ตาม
แต่ G-Class จัดว่ามีระบบช่วงล่างที่ “ ให้ตัว” หรือ Flexible มากสุด นอกจากบุกลุยวิบากได้เต็มขั้นแล้ว ยังให้ความนิ่มนวลต่อการโดยสารในระดับพรีเมี่ยมบนผิวถนน ลดอาการเมื่อยล้าในการขับขี่ทางไกลหรือต่อเนื่องนานชั่วโมง หรือผิววิบากทุรกันดารตลอดเส้นทาง

จุดเด่น ได้แก่ ติดตั้งคอยล์สปริงขนาดใหญ่ 4 จุด เหล็กกันโคลงทั้งหน้าและหลัง นอกนั้น ช่วงล่างด้านหน้าที่เป็นปีกนกสองชั้นยังใช้แขนคอม้าผลิตจากอลูมิเนียมอัดแรง(Forged Aluminum Knuckles)ค้ำโยงระหว่างปีกนกตัวบน-ล่างให้รับแรงและเคลื่อนตัวสัมพันธ์กัน
การออกแบบและติดตั้งระบบช่วงล่างทั้งคันอำนวยการเคลื่อนตัวแต่ละล้อรถอย่างอิสระ ค่าจุดศูนย์ถ่วงต่ำ(Lower Central of Gravity) หารถอื่นเปรียบได้ยาก
ข้อที่แปด- G-Class ในปี 1980 ได้รับเลือกให้เป็นรถคันพิเศษ เรียกว่า Popemobile ใช้ในพิธีต้อนรับองค์สันตะปาปา John Paul II แห่งกรุงวาติกัน โดยติดตั้งโดมกระจกเพื่อให้พระองค์ประทับยืนบนกระบะท้ายรถได้อย่างสะดวกปลอดภัย

G-Class ยังเป็นรถที่บุคคลผู้มีชื่อเสียงระดับโลกหลายท่านซื้อใช้ เช่น Arnold Schwarzengger, Sylver Stallone, Britney Spears, Megan Fox, และอื่นๆ
ข้อที่เก้า- Mercedes-Benz G-Class ความปลอดภัยระดับ 5 ดาว โดยผ่านการทดสอบชนกระแทกตามมาตรฐาน EURO NCAP ในปี 2019 ความปลอดภัยของผู้ใหญ่ในรถ 90% ความปลอดภัยของเด็กในรถ 90% ความปลอดภัยจากอุบัติเหตุชนคนเดินถนน 78% และระบบความปลอดภัยโดยรวมของตัวรถ 72%
ก่อนหน้านั้น รถ SUV รวมทั้งรถเก๋งตรวจการณ์ 5 ประตู(Stationwagon/Estate Car) ตกเป็นข่าวใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเรื่องโครงสร้างหลังคาส่วนท้ายรถพังเสียหายมากจากอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ

หมายเหตุ. EURO NCAP (European New Car Assessment Programme) ประกาศเป็นข้อกำหนดใช้ครั้งแรกที่ประเทศเบลเยี่ยมในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1979 โดยการชักนำของ Transport Research Laboratory กรมการขนทางบก ประเทศอังกฤษ และ Swedish Road Administration ประเทศสวีเดน
……………………………….

คุณสมบัติเด่น:

เป้าหมายหลักของการออกแบบ/ผลิต G-Class คือ Superior Off-Road Performance โดยพื้นฐานคุณสมบัติยานยนต์น้ำหนักเบาของทหาร(Military Lightweight/Go-Anywhere Vehicle)ที่ไปได้ในทุกที่และไม่ติดหล่มเป็นเป้านิ่งให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย แล้วได้รับการพัฒนาปรุงแต่งให้ขับขี่ใช้งานบนผิวถนนได้นิ่มนวลสะดวกสบายในขั้นพรีเมี่ยม ดังที่กล่าวแล้วนั้นนะครับ

หนึ่ง- สไตล์ตัวรถทรงกล่องหรือ Boxy Body-Style คือ คำตอบดีที่สุด เหมาะสมที่สุด สำหรับรถยนต์ Off-Road เพื่องานวิบากทุรกันดาร ประโยชน์ที่ได้จากตัวถังทรงกล่องนั้นครบครัน เช่น เป็นสันเหลี่ยมที่ให้ความแข็งแรงต่อการรับแรงกระแทกจากกิ่งไม้ใหญ่ที่บุกลุย, ขับขี่มองกะระยะได้ง่ายมากกว่าตัวถังโค้งมน(โดยเฉพาะการขับบนทางวิบาก), เนื้อที่ในห้องโดยสารโอ่โถงกว้างขวางนั่งสบาย(โดยไม่ต้องกลัวศีรษะโขกกับเสาเก๋ง กรณีขับลุยวิบากเส้นทางขรุขระ), โอกาสที่น้ำโคลนกระเซ็นขึ้นกระจกหน้าและกระจกหน้าต่างรอบคันรถเป็นได้ยากกว่าตัวถังโค้งมน, และอื่นๆ เป็นต้น

การออกแบบมีข้อกำหนดความต้องการ ดังนี้ครับ
– สไตล์เป็นเอกลักษณ์(Iconic Design) คือ เห็นแต่ไกลก็รู้ว่าเป็น Mercedes-Benz G-Class
– นิ่มนวลสะดวกสบายบนผิวถนน(On-Road Comfort) ซึ่งข้อนี้มักเป็นข้อด้อยของรถ Off-Road ส่วนมาก
– ความปลอดภัยขั้นสูง(Leading of Safety) ซึ่งเป็นวิสัยของผู้ผลิตรายนี้อยู่แล้วแต่ดั่งเดิม
– ขับขี่นอกถนนได้ประทับใจ(Impressive Off-Road Driving Characteristic) ซึ่งรถ Off-Road ส่วนมากแข็งกระด้างขับยากเหนื่อยแรง

สอง- แชสซีส์แบบ Ladder Frame (รางแชสซีส์มีลักษณะเป็นกล่องเหล็กดัดโค้งงอสูง-ต่ำตามโครงสร้างตัวรถ ต่างจากแชสซีส์รางเหล็กรูปตัว U ของรถปิคอัพ และการใช้พื้นรถอัดขึ้นรูปเป็น Monocoque Chassis ของรถนั่งทั่วไป) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่ง คือ Body-On-Frame ให้คุณสมบัติ/คุณประโยชน์มากและเหมาะสมที่สุดต่อ G-Class ที่ขับขี่โดยสารได้นิ่มนวลไม่ว่าจะเป็นนอกหรือบนผิวถนน

จาก Ladder Frame ในปี 1979 พัฒนาขึ้นเป็น Robust Ladder-Type Frame (คำว่า Robust หมายถึง ทำให้แข็งแกร่ง หรือเสริมแรง นั่นเอง) โดยแชสซีส์รางกล่องขึ้นรูปด้วยเหล็กชนิดพิเศษที่ทนต่อการยืดและบิดตัวได้สูง เรียกว่า Higher-Strength-Steel ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างความแข็งแรง, บรรทุกน้ำหนักได้, ทนแรงบิดได้สูง, ให้ตัวยืดยุ่นได้สูง, ขับขี่นั่งโดยสารได้นิ่มนวล, และ ช่วยให้ระบบช่วงล่างยึดเกาะถนน/ทรงตัวได้เต็มพิกัดต่อทุกสภาพพื้นผิว

นอกนั้น ยังรอบรังการติดตั้งเฟืองท้ายจำนวน 3 ตัว ได้แก่ เฟืองท้ายตัวหน้า ตัวกลาง ตัวหลัง ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบส่งกำลังขับเคลื่อนทุกล้อและสี่ล้อวิบาก รวมทั้งจุดติดตั้งถังเชื้อเพลิง โดยไม่มีส่วนหนึ่งใดห้อยต่ำเกะกะพื้นวิบาก ขณะที่ยังรักษาจุดศูนย์ถ่วงต่ำของตัวรถไว้

คานขวางตัวหลังสุดของแชสซีส์ทำเป็นท่อกลมติดตั้งในตำแหน่งที่ได้แรงเพื่อติดตั้งขอลากจูงรถเทรลเล่อร์ บริเวณใกล้กันเป็นบู้ชยางตัวหนา 2 ตัวยึดระหว่างตัวถังรถกับรางแชสซีส์เพื่อลดแรงสั่นสะท้าน รางแชสซีส์ตัวซ้ายติดตั้งขอลากจูง(Towing Eye) ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นการคำนวณจุดติดตั้งโดยวิศวกร ไม่ส่งผลทำให้รางแชสซีส์บิดเบี้ยวจากกรณีฉุดลากรถขึ้นจากหล่มหรือตลิ่งชัน

Mercedes-Benz G-Class

สาม- ตังถังแผ่นโลหะหนา 4.0 มิลลิเมตร แบ่งการเชื่อมต่อออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ Frame-Front-End, Frame-
Center, และ Frame-End คำนวณแรงตามแนวขวางและแนวยาวลำตัวรถโดยวิศวกรรมผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ชิ้นส่วนตัวถังประสานแรงเป็นหนึ่งเดียว แข็งแรงปลอดภัย ตังถังไม่บิดเบี้ยวเสียรูปทรง สูญเสียความแข็งแรง ขณะที่ตัวรถปีนป่ายพื้นผิววิบากทุรกันดาร

สี่- เบ้าโช้คอัพคู่หน้าเป็นโดมสูง(High Spring Domes)เพิ่มเนื้อที่ให้คอยล์สปริงยืดตัวได้มาก โดยเฉพาะเวลาปีน
ป่ายพื้นผิววิบากทุระกันดาร เบ้าโช้คอัพคู่หน้ายึดติดมั่นคงแข็งแรงกับคานแชสซีส์ส่วนหน้า เบ้าโช้คอัพคู่หลังทรงเตี้ยเชื่อมติดด้านข้างกับคานข้างแชสซีส์ เสริมแรงด้วยคานขวาง(Cross-Member Beams)หน้าและหลังซึ่งเป็นผลพวงจากเทคโนโลยีแชสซีส์รถแข่งหฤโหด

ห้า- ชิ้นส่วนประกอบของระบบช่วงล่างด้านหน้าปีกนกสองชั้น(Double-Wishbone Front-Suspension)ยึดติดกับ
โครงสร้างแชสซีส์มั่นคงแข็งแรง โดยไม่ต้องใช้ Sub-Frame มาช่วยแต่ประการใด ลดน้ำหนัก ลดค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาตรวจซ่อมโดยปริยาย
จุดยึดติดปีกนกตัวล่างโยงใยในลักษณะ Z-Direction ช่วยทอนแรงกระแทกกระทั้นเมื่อล้อรถกระเด้งขึ้น/ลงได้มาก ขับขี่ได้นิ่มนวลและเสถียรมือแม้บนถนนลาดยางหลังเต่า ไม่แข็งกระด้างเหมือนรถ Off-Road ทั่วไป

ช่วงล่างด้านหลังคานแข็งยึดเสริมแรง(Rigid Rear Axle with Robust Suspension) เสื้อเพลาซ้ายและขวายึดติดกับเฟรม ประคองด้วยเหล็กหนวดกุ้ง 4 ตัว(2 Lower & 2 Upper Trailing Arms) และเหล็กโยงขวางทแยงมุม(Panhard Rod)

ทั้ง Trailing Arms และ Panhard Rod ขึ้นรูปเป็นเหล็กท่อเพื่อลดน้ำหนักส่วนเกิน ผ่านกรรมวิธีชุบผิวกันสนิมและพ่นทับป้อกงันความเสียหายจากการขรูดพื้นกรวดทรายและก้อนหินกระเด็นใส่ขณะขับลุยวิบาก

ความพิเศษอยู่ตรงที่จุดยึดและตำแหน่งติดตั้ง Trailing Arms และ Panhard Rod ช่วยลดแรงดึงตามแนวยาวลำตัวรถ ป้องกันอาการเซจากการเร่งออกตัวหรือว่าเบรกแรงๆ ช่วงล่างยังให้ตัวยืดยุ่นทำให้ยึดเกาะถนน/ทรงตัวได้ดีทุกสภาพถนนหรือว่าพื้นผิววิบาก

ขณะเดียวกันก็ถ่ายแรงขับเคลื่อนลงสู่ล้อคู่หลังได้อย่างเต็มกำลัง โช้คอัพติดตั้งทแยงมุมและสลับกันคนละด้านของเสื้อเพลาหลังโดยแยกส่วนจากคอยล์สปริง เบ้าโช้คอัพหลังได้รับการคำนวนจุดติดตั้งเพื่อให้ได้แรงต่อการทำงานของคอยล์สปริงและโช้คอัพกระบอก ทำให้ล้อหลังเคลื่อนตัวขึ้น-ลงได้มากถึง 14.2 เซนติเมตร ใต้ท้องรถสูงจากพื้นราบราว 24.1 เซนติเมตรโดยประมาณ อำนวยให้ G-Class ลุยหลุมบ่อและปียป่ายทางลาดชัน(Steep Off-Road Slopes)ลึกมาก

หก- ระบบส่งกำลังขับสี่ล้อของ G-Class แบ่งออกเป็น 2 ระดับชั้น ทั้ง Segment และ Price Positioning ได้แก่
Civilian Edition กับ Professional Line (ล่าสุดแบ่งเป็น 4×4 และ 6×4)
Civilian Edition – ขับเคลื่อนทุกล้อถาวร(Permanent All-Wheel-Drive) กระจายกำลังหน้า/หลังในอัตราส่วน 40%/60% ไม่มีเกียร์ 4×4 High/Low แต่พิเศษตรงที่เฟืองท้ายตัวกลางเป็น 2-Speed Transfer-Case

สนองต่อเป้าประสงค์ในการขับใช้งานประจำวันบนถนนมากกว่า แต่ก็สามารถขับลุยพื้นผิววิบากทุรกันดารได้แฉกเช่นรถ All-Wheel-Drive Cross-Over SUV ทั่วไป
ตามที่เข้าใจ แบ่งระดับการตกแต่งออกเป็น 2 รุ่น ได้แก่ Luxury กับ Premium ตามสนนราคา Luxury Package
เพคเกจนี้กะโหลกเฟืองท้ายหน้าและหลังยังพอจะสังเกตเห็นได้เช่นรถขับสี่ SUV ทั่วไป (เพราะไม่ได้ใช้ระบบส่งกำลังหัวเพลาแบบ Portal Axle เช่นที่มีในรุ่น Professional ซึ่งซ่อนในอู่แชสซีส์จนมองไม่เห็น)

แต่ยังซ่อนชุดพวงมาลัย, เรือนเกียร์ส่งกำลัง, เฟืองท้ายตัวกลาง, เพลากลาง, เฟืองท้ายตัวหลัง และ ถังน้ำมันเชื้อเพลิง ไว้ในอู่แชสซีส์(Center-of-Frame) หัวเพลาขับหน้าเป็นแบบ CV Joint หรือ Constant Velocity Joint ดังนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องยนต์กี่สูบและกี่แรงม้า


………………………
G-Class ใน Civilian Edition ติดตั้งเฟืองท้ายแบบจำกัดการหมุนฟรีของล้อคู่หลังทำงานแบบอัตโนมัติ(Multi-Plate Clutch/Automatically Controlled Limited-Slip Differential) พร้อมกับกลไกล็อคเพลาขับซ้าย/ขวา(Rear Differential-Lock) บังคับให้ล้อหลังทั้งสองข้างได้รับแรงและหมุนขับเท่ากันรอบต่อรอบ จึงมีประสิทธิภาพในการขึ้นจากหล่มโคลนได้ดีกว่าเฟืองท้ายแบบจำกัดการหมุนฟรีหรือ LSD อย่างเดียว

Professional Line – สำหรับผุ้ขับขี่มืออาชีพหรือที่เรียกว่า “ขับเป็น-ใช้เป็น” ระบบส่งกำลังแบบขับสี่ล้อวิบาก มีอยู่ 2 เวอร์ชั่น ได้แก่ 4×4 Off-Road และ 6×4 Off-Road โดยทุกตัวมีเกียร์ 4×4 High/Low และ/หรือ 6×4 High/Low เฟืองท้ายและกลไกล็อคเพลาขับ 3 ตัว
…………………..
(โปรดติดตาม-ตอนต่อไป)